เลขที่บัตรประชาชน :
รหัสผ่าน :
ถามเงือกน้อย
เงือกน้อย
12.46
เงือกน้อย
สวัสดีจร้าาา... วันนี้มีอะไรให้เงือกน้อยช่วยคะ ถามเงือกน้อยมาได้เลย จะรีบไปหาคำตอบให้คะ
12.46

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
ข่าวกิจกรรม
กมธ.กฎหมายฯ ติดตามข้อเท็จจริงกรณีการบุกรุกพื้นที่โบราณสถาน บริเวณเมืองเก่าสงขลา ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร พร้อมรุดตรวจสอบสภาพพื้นที่ เพื่อประกอบการพิจารณาอย่างรอบด้าน
30 มีนาคม 2565

กมธ.กฎหมายฯ ติดตามข้อเท็จจริงกรณีการบุกรุกพื้นที่โบราณสถาน บริเวณเมืองเก่าสงขลา ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร พร้อมรุดตรวจสอบสภาพพื้นที่ เพื่อประกอบการพิจารณาอย่างรอบด้าน

       วันนี้ (30 มี.ค. 65) ที่ห้องประชุม 1 ศาลากลางจังหวัดสงขลา นายชวลิต วิชยสุทธิ์ รองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วย ร้อยตำรวจเอกอรุณ สวัสดี รองประธานคณะกรรมาธิการคนที่ 5 นายสุทัศน์ เงินหมื่น ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ นำคณะทำงาน ลงพื้นที่ประชุมและติดตามข้อเท็จจริงกรณีการบุกรุกพื้นที่โบราณสถาน บริเวณเมืองเก่าสงขลา ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา โดยมีนายวรณัฎฐ์ หนูรอต รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายพงษ์ธันว์ สำเภาเงิน ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา ผู้แทนจากอำเภอสิงหนคร สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 13 (สงขลา) ตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา สำนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเพื่อรายงานความคืบหน้าผลการดำเนินงาน

         จากกรณีที่มีการบุกรุกพื้นที่โบราณสถานบริเวณเมืองเก่าสงขลา ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา จนได้รับความเสียหาย จำนวน 3 แห่ง เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา ทางสำนักศิลปากรที่ 11  สงขลาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบความเสียหายจากการบุกรุกโบราณสถานเขาน้อย พบว่า ขณะนี้โบราณสถานฯ มีพื้นที่ในเขตประกาศขึ้นทะเบียนถูกทำลายเสียหายไปแล้วกว่า 7 ไร่ มีปริมาตรดินที่สูญเสียไปกว่า 150,000 ลบ.ม. คิดเป็นมูลค่ากว่า 25,050,000บาท ส่วนโบราณสถานหัวเขาแดง จากการตรวจสอบความเสียหาย จากการลักลอบทำลายโบราณสถานหัวเขาแดง พบว่า มีเนื้อที่เสียหาย ประมาณ 5 ไร่ ปริมาตรดินที่สูญเสียไปประมาณ 24,000 ลบ.ม. คิดเป็น มูลค่า 4,008,000 บาท และก่อให้เกิดการพังทลายหน้าดินถูกชะล้าง เสียหายอย่างต่อเนื่อง

        อีกทั้งเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2565 สำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา ได้ดำเนินการตรวจสอบบริเวณที่เกิดเหตุเพิ่มเติม ร่วมกับนักธรณีวิทยา จากสำนักงานทรัพยากรธรณีเขต 4 สุราษฎร์ธานี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสำรวจเก็บข้อมูลความเสียหายทางธรณีวิทยา อาทิ ประเภทหิน ชั้นโครงสร้างทางธรณีวิทยา การผุพัง ที่อาจส่งผลกระทบต่อโบราณสถาน เพื่อนำข้อมูลไปประเมินผลกระทบและจัดทำแผนลดผลกระทบก่อนกำหนด มาตรการฟื้นฟูสภาพโบราณสถานในระยะยาวต่อไป ส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ป่าไม้หรือพื้นที่อนุรักษ์นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานพนักงานสอบสวน เพื่อให้ข้อมูลประกอบการดำเนินคดีและการประเมินมูลค่าความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมหลังมีการทำลาย

        สำหรับปัญหาที่เกี่ยวกับที่ดิน สำนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา สาขาสิงหนคร ได้เข้าตรวจสอบบริเวณที่ดินที่มีการบุกรุก ทำลายตามค่าพิกัดของกรมป่าไม้ และสถานีตำรวจภูธรสิงหนครแล้ว พบว่าบริเวณที่ดินดังกล่าวอยู่นอกเขตเอกสารสิทธิ์ที่ดิน ไม่ปรากฏว่ามีโฉนดที่ดินหรือหลักฐานหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก) แต่อย่างไรก็ตาม ทางสำนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา สาขาสิงหนคร จะทำการรังวัดเพื่อหาค่าพิกัดว่าที่ดินที่มีการบุกรุก ทำลายอยู่ในพื้นที่มีเอกสารสิทธิหรือเป็นพื้นที่ป่าไม้หรือไม่ โดยคาดว่าจะนัดรังวัดในวันที่ 12 เมษายน 2565 นี้

.

ศิริลักษณ์ แคล้วคลาด/ข่าว-ภาพ

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา 

30 มี.ค. 65